Siriraj Piyamaharajkarun Hospital
Information
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546 มติที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยครั้งที่ 14/2546 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2546 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 และมติคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2553 ให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้สิทธิเหนือพื้นดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณสถานีรถไฟธนบุรีริมแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่เชื่อมคลองบางกอกน้อย รวมเนื้อที่ประมาณ 33 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา หรือ 53,976 ตารางเมตร[1] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศ ในเอเชียอาคเนย์ ณ บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) เขตบางกอกน้อย ใน วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2551 และพระราชทานนาม อาคารโรงพยาบาลว่า อาคารปิยมหาราชการุณย์ [2] ต่อมาคณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 6 กรกฎาคม 2553 ให้จัดตั้งเป็น “โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (Siriraj Piyamaharajkarun Hospital) ชื่อย่อ “SiPH”[3] และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารสถาบันการแพทย์ และลานพลับพลาประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารโรงพยาบาล ซึ่งเดิมกำหนดไว้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แต่เนื่องจากมีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 59 ทำให้ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด หัวใจและหลอดเลือดสายตาส่องกล้องทางเดินอาหารเปลี่ยนถ่ายอวัยวะปลูกถ่ายไขกระดูก